ซินเดอเรลลา (Cinderella) ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูงทั่วทั้งโลก มีการดัดแปลงเป็นรูปแบบต่างๆ มากมายกว่าพันครั้ง ตำนานซินเดอเรลลา
ทั่วทั้งโลกมีชื่อของตัวเอกแตกต่างกันออกไป
ทว่าฉบับที่มีชื่อเสียงที่สุดเป็นของนักเขียนชาวฝรั่งเศสชื่อ ชาร์ลส แปร์โรลต์ (Charles Perrault) ในปี ค.ศ. 1697 ซึ่งอิงมาจากวรรณกรรมของ จิอัมบัตติสตา เบซิล เรื่อง La Gatta Cenerentola ในปี ค.ศ. 1634 ในเรื่องนี้ตัวเอกมีชื่อว่า เอลลา (Ella) แต่แม่เลี้ยงกับพี่สาวใจร้ายของเธอพากันเรียกเธอว่า ซินเดอเรลลา (Cinderella) อันหมายถึง "เอลลาผู้มอมแมม"
ซินเดอเรลลาในวัฒนธรรมยุคใหม่โด่งดังที่สุดด้วยฝีมือการดัดแปลงเป็นภาพยนตร์การ์ตูนของวอลท์ ดิสนีย์ ในปี ค.ศ. 1950
ทั่วทั้งโลกมีชื่อของตัวเอกแตกต่างกันออกไป
ทว่าฉบับที่มีชื่อเสียงที่สุดเป็นของนักเขียนชาวฝรั่งเศสชื่อ ชาร์ลส แปร์โรลต์ (Charles Perrault) ในปี ค.ศ. 1697 ซึ่งอิงมาจากวรรณกรรมของ จิอัมบัตติสตา เบซิล เรื่อง La Gatta Cenerentola ในปี ค.ศ. 1634 ในเรื่องนี้ตัวเอกมีชื่อว่า เอลลา (Ella) แต่แม่เลี้ยงกับพี่สาวใจร้ายของเธอพากันเรียกเธอว่า ซินเดอเรลลา (Cinderella) อันหมายถึง "เอลลาผู้มอมแมม"
ซินเดอเรลลาในวัฒนธรรมยุคใหม่โด่งดังที่สุดด้วยฝีมือการดัดแปลงเป็นภาพยนตร์การ์ตูนของวอลท์ ดิสนีย์ ในปี ค.ศ. 1950
คุณค่าและความนิยม
แม้โครงเรื่องเทพนิยายของซินเดอเรลลาจะปรากฏในวัฒนธรรมต่างๆ ทั่วโลกในชื่อต่างๆ กัน แต่ฉบับที่โด่งดังที่สุด คือ ฉบับของชาร์ลส์ แปร์โรลต์ซึ่งเป็นผู้ตั้งชื่อ "ซินเดอเรลลา" ขึ้นด้วย ซินเดอเรลล่าได้ตีพิมพ์พร้อมกับเทพนิยายเรื่องอื่นๆ ของแปร์โรลด์ในปี ค.ศ. 1697 หลังจากนั้นก็ได้แพร่หลายและมี
การแปลไปเป็นภาษาอื่นๆ มาก โดยเฉพาะเรื่องซินเดอเรลลาถือเป็นเทพนิยายที่มีการนำไปทำซ้ำมากที่สุด นักแปลผู้มีชื่อเสียงผู้หนึ่ง คือ แองเจล่า คาร์เตอร์ ผู้ได้รับสมญาว่า "เจ้าแม่แห่งเทพนิยาย" ได้แปลผลงานของแปร์โรลด์ไว้มากมายหลายเรื่อง
ซินเดอเรลลานับเป็นผู้บุกเบิก เรื่องราวของสตรีในเทพนิยายและพลิกแนวคิดเกี่ยวกับบทบาทของสตรีในวรรณกรรม รวมถึง "คุณค่า" ของสตรีซึ่งต้องมีกำเนิดมาจาก "ความดีงาม" ของเธอ แม้ว่าในตอนท้ายความสุขสบายในชีวิตของสตรียังคงต้องขึ้นอยู่กับฝ่ายชายอยู่ดี (คือการได้แต่งงานกับเจ้าชาย)
แม้โครงเรื่องเทพนิยายของซินเดอเรลลาจะปรากฏในวัฒนธรรมต่างๆ ทั่วโลกในชื่อต่างๆ กัน แต่ฉบับที่โด่งดังที่สุด คือ ฉบับของชาร์ลส์ แปร์โรลต์ซึ่งเป็นผู้ตั้งชื่อ "ซินเดอเรลลา" ขึ้นด้วย ซินเดอเรลล่าได้ตีพิมพ์พร้อมกับเทพนิยายเรื่องอื่นๆ ของแปร์โรลด์ในปี ค.ศ. 1697 หลังจากนั้นก็ได้แพร่หลายและมี
การแปลไปเป็นภาษาอื่นๆ มาก โดยเฉพาะเรื่องซินเดอเรลลาถือเป็นเทพนิยายที่มีการนำไปทำซ้ำมากที่สุด นักแปลผู้มีชื่อเสียงผู้หนึ่ง คือ แองเจล่า คาร์เตอร์ ผู้ได้รับสมญาว่า "เจ้าแม่แห่งเทพนิยาย" ได้แปลผลงานของแปร์โรลด์ไว้มากมายหลายเรื่อง
ซินเดอเรลลานับเป็นผู้บุกเบิก เรื่องราวของสตรีในเทพนิยายและพลิกแนวคิดเกี่ยวกับบทบาทของสตรีในวรรณกรรม รวมถึง "คุณค่า" ของสตรีซึ่งต้องมีกำเนิดมาจาก "ความดีงาม" ของเธอ แม้ว่าในตอนท้ายความสุขสบายในชีวิตของสตรียังคงต้องขึ้นอยู่กับฝ่ายชายอยู่ดี (คือการได้แต่งงานกับเจ้าชาย)
เนื้อเรื่องย่อ
ซินเดอเรลล่ายอมทนลำบากทำงานเรื่อยมาจนกระทั่งวันหนึ่ง มีจดหมายเรียนเชิญหญิงสาวทั่วอาณาจักรให้มาที่พระราชวังเพื่อร่วมงานเต้นรำ แต่ความหมายที่แท้จริงก็คือ พระราชา ต้องการหาคู่ครองให้กับเจ้าชายซึ่งเป็นพระโอรสองค์เดียว จึงใช้งานเต้นรำบังหน้า เมื่อรู้ข่าว ลูกสาวทั้งสองต่างพากันดีใจที่บางทีตนอาจมีโอกาสได้เต้นรำและได้แต่งงานกับเจ้าชายก็เป็นไปได้ เช่นกันกับซินเดอเรลล่า เพราะเธอใฝ่ฝันมาตลอดเวลาว่าจะได้เต้นรำในฟลอร์ที่งดงามและเป็นอิสระจากงานบ้านอันล้นมือเหล่านี้ แต่แน่นอน เมื่อเด็กสาวขอไป แม่เลี้ยงใจร้ายจึงกลั่นแกล้งต่างๆ นานาจนซินเดอเรลล่าไม่มีชุดใส่ไปงานเต้นรำ
ซินเดอเรลล่าเสียใจมาก จึงหนีไปร้องไห้อยู่คนเดียว ทันใดนั้นนางฟ้าแม่ทูนหัวของซินเดอเรลล่าก็ปรากฏตัวขึ้นและบันดาลชุดที่สวยงามที่สุดให้ซินเดอเรลลา พร้อมกับบอกให้เด็กสาวไปงานเต้นรำ แต่มีข้อแม้ว่าจะต้องกลับมาก่อนเที่ยงคืน ไม่เช่นนั้นเวทมนตร์จะเสื่อมลงไปในทันที
ซินเดอเรลล่าได้ทำตามความฝัน แต่ที่ยิ่งกว่านั้นคือ คู่เต้นรำที่เธอก็ไม่ทราบว่าเป็นใครนั้นคือเจ้าชายนั่นเอง ทั้งสองตกหลุมรักกันทั้งที่ยังไม่รู้ชื่อเสียงเรียงนามของอีกฝ่าย แต่เมื่อถึงเวลาเที่ยงคืน ซินเดอเรลล่าก็รีบหนีไปโดยลืมรองเท้าแก้วเอาไว้ เจ้าชายเก็บรองเท้าไว้ได้จึงประกาศว่าจะทรงแต่งงานกับหญิงสาวที่สวมรองเท้าแก้วนี้ได้เท่านั้น
เสนาบดีได้นำรองเท้าแก้วไปตามบ้านต่างๆ เพื่อให้หญิงสาวทั่วอาณาจักรได้ลอง จนมาถึงบ้านแม่เลี้ยง เมื่อลูกสาวทั้งสองลองครบแล้ว นางก็โกหกว่าไม่มีหญิงสาวในบ้านอีก พร้อมทำลายรองเท้าแก้วจนแตกละเอียด ทุกคนต่างหมดหวังว่าจะไม่สามารถหาหญิงปริศนาของเจ้าชายพบ แต่สุดท้าย ซินเดอเรลล่าก็หยิบรองเท้าแก้วอีกข้างที่เก็บไว้ขึ้นมาและสวมให้กับเหล่าเสนาได้ดู ทำให้ซินเดอเรลล่าได้แต่งงานกับเจ้าชาย และมีความสุขตราบนานเท่านาน
(ข้อคิดในนิทาน: นารีมีรูปเป็นทรัพย์ แต่ความเมตตากรุณาเป็นสมบัติอันประมาณค่ามิได้ หากปราศจากความเมตตา ย่อมไม่มีสิ่งใดเป็นไปได้ ผู้มีความเมตตาย่อมสามารถทำได้ทุกสิ่ง)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น